Thai-Chinese Temple Leng Buai Ia Shrine, Maha Chak, Samphanthawong, Bangkok, Thailand ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ มหาจักร สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย |
<^>>>^> |
Leng Buai Ia Shrine, ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ,
a Thai-Chinese Temple in Bangkok, Thailand, was originally an ancient Tae
Chew Shrine. Chinese businessmen in this area came to this place of
worship for refuge and to improve the prosperity of their businesses.
The shrine is a medium-sized building built in traditional Chinese
architectural style. It is assumed to be the oldest Chinese shrine in
Thailand. This is evident in the plaque inscribed in Chinese, stating
that it was built in 1658 (B.E. 2201), corresponding to the central Ayutthaya period.
From the main entrance of the shrine compound, there is the principal
building in the shape of a mountain. The roof is made of glazed,
colored tiles. Two tile covered dragons facing each other decorate the
rooftop. The columns of the shrine are encircled by twining stuccoed
dragons. Inside is an alter of Leng Buai Ia and his wife in the
center. On the left is an image of Gong-Wu deity and an image of the
Queen of Heaven on the right. To the right of the entrance is an
ancient bell built by Emperor Tao Kwong towards the end of the Ching
dynasty. This three-hundred year old shrine also features some significant ancient objects. For example, three ancient plaques written in the reign of Emperor Kwang Si of the Ching dynasty; a bell inscribed with the name of Choen Thai Chue, made for this shrine in particular; and, finally, a container for incense sticks, a royal gift from King Chulalongkorn, King Rama V. ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ เดิมเป็นศวลเจ้าแต้จิ๋วที่เก่าแก่ ซึ่งผู้ประกอบกิจการค้าในแถบนี้ให้ความนับถือ ศรัทธายึดเป็นที่พึ่งและกราบไหว้บูชาเพื่อความก้าวหน้าในกิจการของตนเอง ศาลเจ้าเป็นอาคารหลังเดียวขนาดย่อม สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีน สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุยาวนานที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี่มีหลักฐานจากป้ายจารึกของศาลเจ้าที่เขียนเป็นภาษาจีนว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๐๑ ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง จากประตูใหญ่เข้าไปมีอาคารที่สร้างเป็นทรงภูเขาตาม ประเพณีนิยมของชาวจีน มีหลังคาใหญ่ปูด้วยกระเบื้องเคลือบสี มีมังกรปูนปั้น ๒ ตัว หันเข้าหากันประดับอยู่ด้านบน และมีเสาที่พันรอบด้วยมังกรปูนปั้นตัวยาว ด้านในมีแท่นบูชารูป เล่งบ็วยเอี๊ยะ และภรรยาเป็นแท่นประธาน ฝั่งช้ายมือตั้งแท่นเทพเจ้ากวนอูและฝั่งขวามือเป็นแท่นประทับราชินีแห่สวรรค์ ส่วนด้านขวาใกล้ประตู เป็นที่ตั้งระฆังโบราณที่สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าเต้ากาวง ซึ่งเป็นฮ่องเต้ช่วงปลายราชวงศ์ชิงของจีน นอกจากจะมีอายุยาวนานกว่า ๓๐๐ ปีแล้ว ความสำคัญของ ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ยังอยู่ที่โบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ป้ายโบราณ ๓ ป้ายที่เขียนขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากวางสีฮ่องเต้แห่งราชวงค์ชิง อีกป้ายหนี่งเก่าแก่ยิ่งกว่าคือ ป้ายที่เขียนขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง รวมทั้งระฆังจารึกชื่อ เฉิน ไท จื้อ ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานที่ศาลเจ้านี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีกระถางธุปพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ๕ เก็บไว้ด้วย Wikimapia location |
Scenic Photography by Gerry Gantt from Thailand, the land of Golden Wats. All images Copyright © 1999 - by Gerry Gantt, all rights reserved. |