Wat Makut Kasattriyaram Ratchaworawihan, Phra Nakhon, Bangkok, Thailand วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระนคร กรุงเทพฯ ประเทศไทย |
|||||
<^>>^> | |||||
|
|||||
Wat Makut Kasattriyaram
Ratchaworawihan, วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร, is
a second grade royal temple of Ratchaworawihan that was built by King Rama
IV. After the Khlong (Canal) Phadung Krung Kasem had been dug
to serve as the outer moat of the walled city, and the construction of
Wat Sommanat Wihan Ratchaworawihan had been completed, the King wished
to build his own personal temple next to Wat Sommanat Wihan.
Therefore, he purchased the orchard next to the temple to build the royal
temple and commissioned Somdet Chao Phraya Borommaha Srisuriyawong
(Chuang Bunnak) to be the chief of construction and Somdet Phrachao
Borommawongthoe Krommakhun Ratchasiha Wikrom to be the engineer.
The construction was complete in 1868 (B.E. 2411). The temple was officially named
Wat Makut Kasattriyaram Ratchaworawihan by the King, but he wanted
it to be temporarily called Wat Nam Banyat, until the end of his
reign and to be called by its official name thereafter. Inside the Ubosot (Ordination Hall), there are many beautiful mural paintings depicting the lives of the eleven male and nine female chief-disciples of Lord Buddha. There are inscriptions on the marble plates under the paintings. The Principal Buddha Image in Meditation Pose is made of bronze with gold-leaf application and enshrined in a Butsabok (Small Image House). The image does not have an official name. This temple is famous for having two sections of Sima (boundary wall of temple), and is one of only two temples in the region of Krung Rattanakosin with such structures; the other being Wat Sommanat Wihan Ratchaworawihan. The first section of Sima is called Maha Sima (Big Boundary) and is located at the corner of the wall surrounding the temple, while the Sima around the Ubosot is called Khantha Sima (Portion Boundary). วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ ๔ หลังจากขุด คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูพระนครชั้นนอก และสร้าง วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร เสร็จแล้ว พระองค์มีพระราชประสงค์จะสร้างวัดส่วนพระองค์คู่กับ วัดโสมนัสวิหาร ทรงโปรดให้ซื้อที่ดินสวนของราษฎรซึ่งมีเขตติดต่อกับวัดโสมนัสวิหาร เพื่อสร้างพระอารามทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสราง และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง การก่อสร้งพระอารามเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชทานนามว่า วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกว่า วัดนามบัญญัติ เป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่าเมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้วจึงให้รียกนามพระราชทาน ด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพประวัติของพระอัครสาวก ๑๑ องค์ และภาพประวัติของอัครสาวิกา ๙ องค์ มีคำบรรยายภาพเขียนลงบนแผ่นหินอ่อนติดไว้ด้านล่างของภาพ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ปางสมาธิ ไม่มีพระนาม ประดิษฐานอยู่ในบุษบก วัดนี้ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีสีมา ๒ ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกและมีเพียง ๒ วัดเท่านั้นในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ คือ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และ วัดโสมนัสวิหารรชวรวิหาร สีมาชั้นแรกเรียกว่า มหาสีมา ตั้งอยู่มุมกำแพงรอบวัด และสีมาที่อยู่รอบพระอุโบสถ เรียกว่า ขัณฑสีมา Adapted from historical marker at Wat Makut Kasattriyaram. Wikimapia location |
|||||
Scenic Photography by Gerry Gantt from Thailand, the land of Golden Wats. All images Copyright © 1999 - by Gerry Gantt, all rights reserved. |